ยินดีต้อนรับ
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสโมสร
1. เพื่อเป็นการส่งเสริมด้านสุขภาพ และลดความเครียดจากการทำงาน
2. เพื่อเป็นการตอบสนองสมาชิกที่อยากเล่นบอล แต่ไปขอใครเล่นเขา
ก็ไม่ให่เล่น จึงคิดตั้งสโมสรขึ้นมาเล่นเอง ฮิฮิ
3. เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ที่ทำงานกันที่อื่น
4. วัตถุประสงค์สุดท้ายคือ หาเรื่องไปหาอารัยกินกัน
1. เพื่อเป็นการส่งเสริมด้านสุขภาพ และลดความเครียดจากการทำงาน
2. เพื่อเป็นการตอบสนองสมาชิกที่อยากเล่นบอล แต่ไปขอใครเล่นเขา
ก็ไม่ให่เล่น จึงคิดตั้งสโมสรขึ้นมาเล่นเอง ฮิฮิ
3. เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ที่ทำงานกันที่อื่น
4. วัตถุประสงค์สุดท้ายคือ หาเรื่องไปหาอารัยกินกัน
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
แฉหลักฐานมัด 1 ใน 4 ฟีฟ่าฉาวขอรับสินบนจากผู้ดี
Report by : MGR Sport News
สำนักข่าวบีบีซี อังกฤษ เผยหลักฐานมัดตัว แจ๊ค วอร์เนอร์ 1 ใน 4 คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ที่ถูก ลอร์ด เดวิด ทรีสแมน ระบุว่าขอรับผลประโยชน์จากอังกฤษ โดยเป็นอี-เมล์ที่ส่งมาเพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2010 บนจอยักษ์ที่ประเทศเฮติ
หลังจาก ลอร์ด ทรีสแมน อดีตประธานสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (เอฟเอ) ออกมาเปิดประเด็นว่าบอร์ดบริหารฟีฟ่า 4 ราย ประกอบด้วย แจ๊ค วอร์เนอร์ (ตรินิแดด แอนด์ โตเบโก), นิโคลัส เลออซ (ปารากวัย), ริคาร์โด เตเซรา (บราซิล) และ วรวีร์ มะกูดี (ไทย) ขอรับผลประโยชน์แลกกับคะแนนเสียงของตัวเองในการโหวตให้เมืองผู้ดีเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 ซึ่งต่อมา ฟีฟ่า ขอดูหลักฐานก่อนเข้าสู่กระบวนการสอบสวนและพิจารณาบทลงโทษ
โดยในรายของ แจ๊ค วอร์เนอร์ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหนึ่งในรองประธานฟีฟ่า เจอข้อกล่าวหาว่าขอเงิน 2.5 ล้านปอนด์ (ประมาณ 125 ล้านบาท) เพื่อนำไปสร้างศูนย์การเรียนรู้ในบ้านเกิด และอีก 500,000 ปอนด์ (ประมาณ 25 ล้านบาท) สำหรับการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกในประเทศเฮติ โดยให้ส่งมอบเงินผ่านทางตัวเขา
ล่าสุด บีบีซี รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ที่ผ่านมาว่า มีหลักฐานเป็นอี-เมล์ที่ วอร์เนอร์ ส่งถึง ลอร์ด ทรีสแมน เพื่อขอให้ เอฟเอ ช่วยเหลือค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2010 บนจอยักษ์ที่ประเทศเฮติ ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 48 ล้านบาท) โดยที่ วอร์เนอร์ อ้างว่าสามารถต่อรองลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้
อนึ่ง ฟีฟ่า ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์รายใหญ่สำหรับการดำเนินการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2010 กลางแจ้ง เปิดเผยเพิ่มเติมกับ บีบีซี ว่าไม่เคยมีการอนุญาตให้ถ่ายทอดสดในที่สาธารณะสำหรับประเทศเฮติ นั่นหมายความว่าไม่มีการเจรจาเรื่องค่าลิขสิทธิ์ก้อนโตจำนวน 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 48 ล้านบาท) ตามที่ วอร์เนอร์ ติดต่อไปยัง เอฟเอ
ด้าน เซปป์ แบลตเตอร์ ประธานฟีฟ่าคนปัจจุบันออกมากล่าวภายหลังทราบเรื่องนี้ว่า “ ผมไม่สบายใจที่บรรดาเพื่อนที่ผมรู้จักมาเป็นเวลาหลายปีเข้าไปพัวพันเรื่องเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ยังไม่ถือว่าใครมีความผิดจนกว่าจะมีการตัดสิน”
ทั้งนี้ เอฟเอ เคยแถลงว่าจะนำหลักฐานที่ ลอร์ด ทรีสแมน กล่าวหาบอร์ดฟีฟ่ามาเปิดเผยภายในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ซึ่งก็คือวันนี้ โดยอีก 3 คนที่ถูกพูดถึงมี “บังยี” วรวีร์ มะกูดี รักษาการนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ รวมอยู่ด้วย โดยมีการระบุว่ายื่นข้อเสนอขอรับเงินค่าลิขสิทธิ์โทรทัศน์จากเกมกระชับมิตรระหว่าง ไทย กับ อังกฤษ ที่เคยมีการคุยกันก่อนพับแผนหลังจาก รัสเซีย ได้รับการโหวตให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018
ส่วน “นิโคลัส เลออซ” ฟีฟ่าเมมเบอร์ชาวปารากวัย ได้ยื่นข้อเสนอขอยศอัศวินจากเครือจักรภพอังกฤษ ขณะที่ “ริคาร์โด เตเซรา” บอร์ดฟีฟ่าชาวบราซิลเรียกร้องกับ ลอร์ด ทรีสแมน ว่า “มาหาผมและบอกว่าคุณจะให้อะไรผมบ้าง” เพื่อแลกกับคะแนนโหวต
เครดิตข่าวเด่นhttp://www.manager.co.th/Sport/ViewNews.aspx?NewsID=9540000064660
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น